ทฤษฎีว่าด้วยการชักจูงใจ การโน้มน้าวใจ
ทฤษฎีที่ว่าด้วยการชักจูงใจ การโน้มน้าวใจ (Theory of persuasion) เป็นทฤษฎีหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มทฤษฎีโครงสร้างในสมอง ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่าการที่จะชักจูงใจบุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้นเหมือนกันการกระตุ้น บุคคลนั้น เพื่อให้เกิดการตอบสนองในสิ่งที่เราต้องการให้เป็น และในกระบวนการสื่อสารจะมีช่องว่างหรือตัวกลางระหว่างการกระตุ้นและการตอบสนองซึ่งเรียกว่าพื้นเพเดิมของบุคคล ซึ่งถือว่าเป็นตัวกลางที่สำคัญมากในการสื่อสาร ดังนั้นในการจูงใจบุคคลหรือจะสื่อสารสิ่งใดนั้น เราจะต้องศึกษาถึงพื้นเพเดิมของบุคคลคนนั้นก่อน นั่นคือศึกษาถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ของบุคคล ๆ นั้น เช่น ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ ระดับการศึกษา ความแน่นแฟ่นของครอบครัว เป็นต้น
สรุป
ขั้นตอนการพัฒนาการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้ (1) ช่วงการยึดระเบียบความคิด (2) ช่วงการการใช้สารสนเทศ (3) การสร้างผลกระทบและมีการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน
ทฤษฎีว่าด้วยองค์ประกอบของการสื่อสาร การสื่อสารมีองค์ประกอบดังนี้ (1) สัญลักษณ์ (2) การสื่อสารต้องมีความเข้าใจในสัญลักษณ์หรือภาษาให้ตรงกัน (3) การสื่อสารจะต้องมีการปฎิสังสรรค์ (4) การลดความไม่แน่ใจ (5) กระบวนการ (6) การแลกเปลี่ยนระหว่างกัน (10) การลอกเลียนความทรงจำ (11) เลือกวิธีการที่จะตอบโต้ (12) สิ่งเร้า (13) ความตั้งใจ (14) กาลเทศะ (15) อำนาจ
ทฤษฎีโครงสร้างในสมองหรือข้อมูลสะสมในสมองและพฤติกรรมของมนุษย์ เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกภายนอกของมนุษย์ ซึ่งผู้รับข่าวสารจะต้องเกิดความรู้ความเข้าใจในข่าวสารก่อนแล้วจึงมีพฤติกรรมตามมา ทฤษฎีนี้มีความเชื่อดังนี้ (1) สิ่งเร้า (2) ทฤษฎีนี้เชื่อว่าสิ่งเร้านำไปสู่กระบวนการตอบสนอง (3) ทฤษฎีนี้มองการทำงานของคนเหมือนการมองคอมพิวเตอร์ (4) ทฤษฎีนี้เชื่อว่าความคิดเป็นผู้กำหนดภาษาและการแสดงออกของมนุษย์
ทฤษฎีว่าด้วยความเกี่ยวพันส่วนตัวและการประเมินสิ่งรอบตัว ทฤษฎีนี้ความเชื่อดังนี้ (1) มนุษย์ประเมินสิ่งต่าง ๆ รอบตัวโดยอัตโนมัติ (2) มนุษย์จะใจแคบหรือกว้างอยู่ที่ความเกี่ยวพันกับตัวเอง
ทฤษฎีความไม่กลมกลืนของระบบความคิดในสมอง เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงพฤติกรรมของบุคคลซึ่งเกิดจากความวิตกกังวลหรือความเข้าใจด้านต่าง ที่ไม่สอดคล้อง ความไม่กลมกลืนหรือสภาพความไม่สมดุลของระบบความคิดมีผลเกี่ยวพันกับสถานการณ์ต่าง ๆ
วิธีการลดหรือหลีกเลี่ยงความไม่กลมกลืน มีดังนี้ (1) แสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม (2) หลบหลีกข้อข้อมูลที่ทำให้เกิดความไม่สบายใจ (3) เก็บเรื่องนั้นเป็นคลื่นใต้น้ำ (4) เปลี่ยน โครงสร้างทางความคิดเพื่อให้เกิดความสมดุล (5) เติมปัจจัยบางประการสู่โครงสร้างความคิดภายในเพื่อลดความไม่สมดุล (6) ลดความสำคัญเพื่อคงสภาพความสมดุล (7) บิดเบือนข้อมูลหรือรับบางส่วน (8) หาข้อมูลมาสนับสนุนความเชื่อ
ทฤษฎีที่ว่าด้วยการชักจูงใจ การโน้มน้าวใจ ทฤษฎีนี้แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะดังนี้ (1) กลุ่มเชื่อ (2) กลุ่มสงสัย (3) กลุ่มเฉื่อย (4) กลุ่มปรปักษ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น