การวิจัย (RESEARCH)
การตั้งชื่อเรื่องงานวิจัย (หัวข้อเรื่อง)
การตั้งชื่อเรื่องงานวิจัย หรือการตั้งชื่อหัวข้อเรื่องวิจัยนั้นต้องสัมพันธ์กับปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย ชื่อเรื่องงานวิจัยที่ดีจะทำให้ผู้อ่านทราบว่างานวิจัยนี้ ปัญหาการวิจัยคืออะไร วัตถุประสงค์การวิจัยคืออะไร ทำกับใคร ที่ไหน ใช้วิธีการศึกษาวิจัยอย่างไร การใช้ถ้อยคำในการตั้งชื่อต้องใช้ภาษาที่ชัดเจน กะทัดรัด ไม่ซ้ำซ้อนกับชื่อเรื่องงานวิจัยของผู้อื่นที่ได้ทำไว้แล้ว งานวิจัยบางเรื่องนำวัตถุประสงค์การวิจัยมาตั้งเป็นชื่อเรื่องการวิจัย ด้วยเหตุผลที่ว่าชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์การวิจัยมีความสอดคล้องกัน เชื่อมโยงกัน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัยไปด้วยกันเป็นแนวเดียวกันการตั้งชื่อเรื่องงานวิจัย (หัวข้อเรื่อง)
ชื่อเรื่องงานวิจัย หรือหัวข้อเรื่องที่ตั้งนั้นต้องสื่อความหมายได้ดี คือบ่งบอกถึงปัญหาวัตถุประสงค์ วิธีการศึกษาวิจัย ทำกับประชากรใด ที่ไหน โดยชื่อเรื่องวิจัยควรประกอบด้วย 1) ตัวแปรที่ศึกษา (Varlable) 2) ประชากร (Population) 3) วิธีการศึกษาวิจัย (Methodology)
ตัวแปรที่ศึกษา(Variable) ตัวแปรคือสิ่งที่แปรค่าได้ (Vary) สามารถแปลค่าได้ต่างๆกัน ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ตัวแปรใดที่เป็นสาเหตุให้ตัวแปรอื่นแปรค่าได้ตัวแปรนั้น เรียกว่า ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ(Independent Variable) ส่วนตัวแปรใดที่การแปรค่าได้จากตัวแปรอื่นตัวแปรนั้นเป็นตัวแปรตาม (Dependent Variable) ซึ่งชื่อเรื่องวิจัยนั้นอาจแสดงทั้งตัวแปรต้นและตัวแปรตาม คือแสดงให้เห็นถึงตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยนี้
ประชากร (Population) ประชากรคือหน่วยรวมทั้งหมดที่เราจะศึกษา ซึ่งในงานวิจัย ส่วนใหญ่จะศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง (Sample) ที่เป็นตัวแทนของประชากร เนื่องจากไม่สามารถศึกษากับประชากรจำนวนมากได้ ประชากรอาจเป็นคน เช่น ครู ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหาร ผู้ปกครอง นักเรียน ประชากรอาจเป็นสัตว์ หรือสิ่งของก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจที่จะศึกษาของผู้วิจัย
วิธีการศึกษา (Methodology) วิธีการศึกษาเป็นการชี้ให้เห็นว่าผู้วิจัยใช้วิธีการใดในการศึกษา เช่น การพัฒนาหลักสูตร การประเมินผลหลักสูตร การเปรียบเทียบความคิดเห็น การศึกษาความสัมพันธ์ การทดลอง การสำรวจ ฯลฯ โดยบอกถึงวิธีการศึกษาอย่างกว้างๆ
นอกจากชื่อเรื่องงานวิจัยจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ตัวแปรที่ศึกษาประชากร และวิธีการศึกษา แล้วสิ่งที่ควรพิจารณาในการตั้งชื่อเรื่องงานวิจัยควรประกอบด้วย
1. การตั้งชื่อเรื่องไม่ควรยาวเกินไป ควรสั้นกระทัดรัด แต่สื่อความหมายของเรื่องที่จะศึกษาไม่ใช้คำฟุ่มเฟือยและคำที่ใช้ควรเป็นภาษาวิชาการที่ใช้ในการวิจัย
2. ชื่อเรื่องงานวิจัยไม่ควรกว้างเกินไป ซึ่งจะทำให้ไม่ทราบว่าผู้วิจัยต้องการศึกษาอะไร
3. การตั้งชื่อเรื่องอาจระบุประชากร หรือไม่ระบุประชากรก็ได้แล้วแต่ผู้วิจัย แต่ส่วนใหญ่จะระบุประชากร
ตัวอย่างการตั้งชื่อเรื่องงานวิจัยสาขาหลักสูตรและการนิเทศ
1. การศึกษาปัจจัยที่สามารถจำแนกสมรรถภาพด้านการสอนของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จ. อุบลราชธานี (เฉลิมพล สวัสดิ์พงศ์, 2533)
2. ดัชนีจำแนกประสิทธิภาพการสอนของครูคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา เขตการศึกษา 5 (นางกอบศิริ สถิตย์ศุภมาศ, 2533)
3. การจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด ในเขตการศึกษา 5 (นายรังสรรค์ อ้วนวิจิตร, 2533)
4. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และอัตราความคงทนในการเรียนรู้กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยสมุดลำดับภาพการ์ตูนกับสื่อการเรียนประเภทอื่น (น.ส.ปรียา โชคพิพัฒน์, 2534)
5. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความท้อถอยในการปฏิบัติงานของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการ
ประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี (นางอุไร ประกอบกิจวิริยะ, 2534)
วัตถุประสงค์การวิจัย (RESEARCH OBJECTIVE)
วัตถุประสงค์การวิจัย (Research Objective) เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยต่อเนื่องจากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยต้องสัมพันธ์กับปัญหาเพราะวัตถุประสงค์การวิจัยจะเป็นส่วนที่ชี้ให้เห็นว่าผู้วิจัยต้องการศึกษาอะไร ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดสมมติฐานการวิจัย วิธีการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป โดยทั่วไปการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยจะมีข้อความนำก่อนเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย ข้อความที่เราพบเห็นกันโดยทั่วไป เช่น...จากสภาพความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้....การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยตามปกติจะกำหนดในลักษณะของสิ่งที่จะกระทำเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการรู้ มากกว่าจะเป็นการนำเอาสิ่งที่รู้มาแล้วมาตั้ง เช่น
ถ้าผู้วิจัยต้องการทราบว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ของครูและผู้บริหารแตกต่างกันหรือไม่ วัตถุประสงค์การวิจัย คือ เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและผู้บริหารเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)
การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยอาจเขียนได้ 2 ลักษณะ
1. เขียนวัตถุประสงค์การวิจัยรวม เป็นวัตถุประสงค์เดียวไม่แยกเป็นวัตถุประสงค์การวิจัยทั่วไป (General Objective) และวัตถุประสงค์การวิจัยเฉพาะ ( Specific Objective)
ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยรวมข้อเดียว
- เพื่อพัฒนาหลักสูตรการวิจัยวัฒนธรรม ( มาเรียม นิลพันธุ์, 2535 )
2. เขียนวัตถุประสงค์การวิจัยเป็นวัตถุประสงค์การวิจัยที่มีทั้งวัตถุประสงค์การวิจัยทั่วไปก่อนแล้วจึงมาแยกเขียนเป็นวัตถุประสงค์การวิจัยเฉพาะ
สมมติฐาน (Hypothesis)
สมมติฐาน (Hypothesis) คำตอบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งการคาดคะเนคำตอบหรือการคาดเดาคำตอบนี้อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎี (theory-based prediction) หรืออยู่บนพื้นฐานของแนวคิด ผลการวิจัย โดย Tuckman (1999 : 73) ได้กล่าวถึงสมมตฐานว่าคำตอบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพื่อตอบปัญหาการวิจัยที่กำหนดไว้ ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้1. เป็นข้อความที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว หรือมากกว่า
2. เป็นข้อความที่เขียนอย่างชัดเจนไม่คลุมเครือ (clearly and unambigiously)
3. เป็นสิ่งที่สามารถทดสอบได้ (testable)
ประเภทของสมมติฐาน (Type of Hypothesis)
สมมติฐานโดยทั่วไปแยกได้ 2 ประเภท คือ สมมติฐานการวิจัย และสมมติฐานทางสถิติ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. สมมติฐานการวิจัย (Research Hypothesis)
2. สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis)
ขอบเขตการวิจัย (Limitation of Research)
ขอบเขตการวิจัย (Limitation of Research) เป็นส่วนที่กำหนดขอบเขตของการวิจัยว่าในการวิจัยเรื่องนั้นๆ มีขอบเขตการศึกษาเพียงใดอันจะทำให้ผู้อ่านงานวิจัยเข้าใจงานวิจัยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งให้งานวิจัยนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัยโดยทั่วไปขอบเขตการวิจัยจะระบุเกี่ยวกับ
- ประชากร และตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
- ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ทั้งตัวแปรต้นและตัวแปรตาม
นอกจากนี้การเขียนขอบเขตการวิจัยอาจระบุถึงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจงใน
การศึกษา
กรอบความคิด (Conceptual Framework)
กรอบความคิดสำหรับการวิจัย หมายถึง โมเดลแสดงความสัมพันธ์ตามทฤษฎีระหว่างตัวแปรที่นักวิจัยศึกษา นักวิจัยสร้างกรอบความคิดจากการทบทวนวรรณคดี ทฤษฎีและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นภาพจำลอง (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2543 : 51) และสุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2540 : 63-64) ได้ให้ความหมายของกรอบแนวความคิดในการวิจัย หมายถึง กรอบของการวิจัยในด้านเนื้อหาสาระ ซึ่งประกอบด้วยตัวแปร และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ปัญหาที่มักถกเกียงกันคือ การวิจัยจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีกรอบแนวความคิด มีการกล่าวกันว่าการวิจัยเชิงพรรณนาไม่จำเป็นต้องมีกรอบแนวความคิด แต่การวิจัยเชิงอธิบายจำเป็นต้องมีกรอบแนวความคิด กรอบแนวความคิดกับการวิจัยเชิงอธิบายโดยทั่วๆไป กรอบแนวความคิดมีความหมายกว้างมากกว่าการระบุว่ามีตัวแปรอะไรบ้างที่จะใช้ในการวิจัย กล่าวคือ กรอบแนวคิดจะต้องระบุว่ามีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ทั้งนี้เพราะการศึกษาในเรื่องเดียวกันมีทฤษฎีต่างๆ หรือแนวคิดในการมองปัญหามากมายหลายรูปแบบ การระบุกรอบแนวความคิดจึงเป็นการช่วยให้นักวิจัยและผู้อื่นได้ทราบว่า ผู้วิจัยมีแนวคิดอย่างไรเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการศึกษาและคิดว่าอะไรสัมพันธ์กับอะไรในรูปแบบใดและทิศทางใด
ที่มาของกรอบแนวความคิดในการวิจัยมาจากผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น