วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิชาชีพสถาปัตยกรรม

วิชาชีพสถาปัตยกรรมคืออะไร " วิชาชีพสถาปัตยกรรม" หมายความว่า วิชาชีพสถาปัตยกรรม ที่ใช้ศาสตร์ และศิลป์สร้างสรรค์สถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมในสาขาสถาปัตยกรรมหลัก สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง สาขาภูมิสถาปัตยกรรม สาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนาศิลป์ และสาขาสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่กำหนดในกฎกระทรวง " วิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม" หมายความว่า วิชาชีพสถาปัตยกรรมที่กำหนดในกฎกระทรวง " ใบอนุญาต" หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมตามพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 " ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม" หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาติเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมจากสภาสถาปนิก ท

ประวัติความเป็นมาของการศึกษาและวิชาชีพสถาปัตยกรรม
ในปี พ.ศ. 2408 M.I.T. เป็นโรงเรียนสถาปัตยกรรมโรงเรียนแรกการศึกษาเน้นทางด้านเทคโนโลยีและออกแบบ ศึกษาตามแนวทางของ Ecole des Beause Arts ของประเทศฝรั่งเศส การเรียนออกแบบเน้นการเขียนการวาด วิชาที่เรียนควบคุ่กันไปได้แก่วิชาทางด้านวิศวกรรม หลักสูตรดังกล่าวเป็นหลักสูตร 4 ปี ต่อมา Walter Gropius นำแนวความคิดของ "Bauhaus" มาสอนที่มหาวิทยาลัย Haward เป็นการผสมผสานวิชาการด้านสถาปัตยกรรม ผังเมือง และภูมิสถาปัตยกรรมเข้าด้วยกัน ซึ่งมีผลต่อการปรับองค์กรเพื่อรองรับแนวทางการสอนลักษณะสหสาขาวิชานี้พร้อมๆ กัน ในช่วงเวลานี้มหาวิทยาลัย Cornell เป็นผู้นำมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในการขยายหลักสูตรสถาปัตยกรรมเป็นหลักสูตร 5 ปี ซึ่งครอบคลุมวิชาการทางสถาปัตยกรรมงานศิลปะและเทคนิควิศวกรรมโครงสร้าง มหาวิทยาลัย Cornell ยังคงใช้หลักสูตร 5 ปีมาจนถึงปัจจุบัน ในปัจจุบันประมาณ 40% ของโปรแกรมหลักสูตรสถาปัตยกรรมในสหรัฐอเมริกาเป็นระบบ 4+2 ปี แต่ส่วนใหญ่ของโปรแกรมหรือประมาณ 60% ยังเป็นระบบ 5 ปี (B.Arch) เมื่อปี พ.ศ. 2476 การศึกษาด้านสถาปัตยกรรมในประเทศไทยได้เริ่มต้นจาก อาจารย์ นารถ โพธิประสาท ได้ไปศึกษา ณ.มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษและได้นำเอาการศึกษาระบบอังกฤษมาใช้ในประเทศไทย ที่เราเรียกกันว่าระบบรายปีหลักสูตร 5 ปี c
มาตรฐานการให้บริการวิชาชีพสถาปัตยกรรม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงหลักปฏิบัติอันเป็นหลักเบื้องต้นของวิชาชีพ
2. เพื่อให้พื้นฐานของการปฏิบัติวิชาชีพตรงกัน
3. เพื่อให้เกิดความรอบคอบในการปฏิบัติวิชาชีพ
การบริการขั้นมูลฐาน
1. การวางเค้าโครงการออกแบบและการออกแบบร่างขั้นต้น (CONCEPTURAL DESIGN)
2. การออกแบบร่างขั้นสุดท้าย (PRELIMINARY DESIGN)
3. การทำรายละเอียดก่อสร้าง (WORKING DRAWING)
4. การขออนุญาตปลูกสร้างอาคารและการประกวดราคา (BUILDING PERMIT, BIDDING)
5. การก่อสร้าง (CONSTRUCTION)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น