วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การแสดง



ความหมายการแสดง
            การแสดงเป็นระบบภาษาระบบหนึ่งที่ผู้สร้างภาพยนต์อาศัยเป็นสิ่งที่สะท้อนอารมณ์และความคิดออกมา การแสดงในภาพยนตร์นั้นขึ้นอยู่กับการตีความเนื้อหาของภาพยนตร์ของผู้กำกับทั้งหมด
ผู้กำกับแนวสัจนิยม จะชอบถ่ายภาพด้วยช้อทยาว ๆ โดยไม่ตัดภาพเพื่อปล่อยโอกาสให้ตัวละครสร้างอารมณ์ในการแสดงอย่างต่อเนื่องโดยไม่สะดุด ดังนั้นคนดูจึงประเมินค่าของการแสดงในภาพยนตร์แนวสัจนิยมได้ง่ายกว่าแนวอื่น ๆ ที่มักจะมีการตัดภาพหรือนำภาพมาขยายจนเกินจริง
ถ้าผู้กำกับเป็นพวกที่อาศัยศิลปะของสื่อภาพยนตร์เป็นส่วนสำคัญ (Formalist) ในการสร้างภาพยนตร์มากเท่าไร บทบาทของนักแสดงก็กำลังลดลงไปทุกที ภาพยนตร์หลายเรื่องของอัลเฟรด ฮิทช์ค็อค ใช้เทคนิคพิเศษที่น่าตื่นเต้นมากมายสร้างความระทึกใจให้กับคนดูได้อย่างประสบความสำเร็จก็เพราะการลดบทบาทของตัวละครลงไป จนเทคนิคพิเศษแย่งความเด่นไปครองได้อย่างสิ้นเชิง
การแสดงในภาพยนตร์
            การแสดงในภาพยนตร์เป็นศิลปะ เป็นเครื่องมือในการสื่อความหมายของผู้กำกับภาพยนตร์
นักแสดงภาพยนตร์ต้องได้รับการฝึกฝนการสวมบทบาทตัวละครต่าง ๆ ด้วยวิธีการที่แตกต่าง ศิลปะการแสดงต้องการผู้ที่มีความสามารถ ความมานะ อดทน และมีพรสวรรค์ในการเปลี่ยนแปลงตัวเองไปเป็นบุคคลอื่นได้อย่างสมเหตุสมผลสมจริงจัง คุณสมบัติสำคัญของนักแสดงภาพยนตร์คือความน่าสนใจ
การแสดงในละครเวที
        นักแสดงละครเวทีทำหน้าที่ดำเนินเรื่องราวไปตลอดเวลาตั้งแต่เริ่มจนจบเรื่อง จึงต้องฝึกฝนการใช้เสียงเพื่อให้คนดูได้ยินอย่างทั่วถึงทั้งโรงอย่างชัดเจน การสื่อความหมายหลัก ๆ ในละครเวทีใช้ภาษาพูด น้ำเสียงของบทพูดจึงมีส่วนสำคัญในการสะท้อนความนับที่แฝงเร้นเนื่องจากจำเป็นต้องปรากฏตัวให้ผู้ชมเห็นเด่นชัด ถ้านักแสดงละครเวทีจำเป็นต้องมีรูปร่างสูงใหญ่ เนื่องจากเป็นต้องปรากฏตัวให้ผู้ชมเห็นเด่นชัด ถ้านักแสดงมีรูปร่างเล็กจะถูกกลืนหายไปในเวที ปกติผู้ชมจะมองเห็นนักแสดงเต็มตัวอยู่ตลอดเวลา นักแสดงจึงต้องระมัดระวังกิริยาท่าทาง ควบคุมการแสดงออกให้ชัดเจน การเต้นรำ การฟันดาบ การเคลื่อนไหวอย่างเป็นธรรมชาติในเครื่องแต่งกายโบราณจังหวะการออกท่าทางประกอบคำพูด ร่างกายต้องสื่อความหมายเมื่อเปิดม่านออก นักแสดงต้องพึ่งตนเอง ไม่สามารถแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นไปแล้ว ไม่เหมือนภาพยนตร์ที่สามารถถ่ายทำซ้ำใหม่ได้

การโน้มน้าวใจเพื่อการประชาสัมพันธ์

ทฤษฎีว่าด้วยการชักจูงใจ  การโน้มน้าวใจ

                ทฤษฎีที่ว่าด้วยการชักจูงใจ  การโน้มน้าวใจ  (Theory  of  persuasion)  เป็นทฤษฎีหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มทฤษฎีโครงสร้างในสมอง  ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่าการที่จะชักจูงใจบุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้นเหมือนกันการกระตุ้น  บุคคลนั้น  เพื่อให้เกิดการตอบสนองในสิ่งที่เราต้องการให้เป็น  และในกระบวนการสื่อสารจะมีช่องว่างหรือตัวกลางระหว่างการกระตุ้นและการตอบสนองซึ่งเรียกว่าพื้นเพเดิมของบุคคล  ซึ่งถือว่าเป็นตัวกลางที่สำคัญมากในการสื่อสาร  ดังนั้นในการจูงใจบุคคลหรือจะสื่อสารสิ่งใดนั้น  เราจะต้องศึกษาถึงพื้นเพเดิมของบุคคลคนนั้นก่อน  นั่นคือศึกษาถึงองค์ประกอบต่าง ๆ  ของบุคคล ๆ  นั้น  เช่น  ทัศนคติ  ค่านิยม  ความเชื่อ  ระดับการศึกษา  ความแน่นแฟ่นของครอบครัว  เป็นต้น

สรุป
                ขั้นตอนการพัฒนาการประชาสัมพันธ์  มีดังนี้  (1)  ช่วงการยึดระเบียบความคิด  (2)  ช่วงการการใช้สารสนเทศ  (3)  การสร้างผลกระทบและมีการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน
                   ทฤษฎีว่าด้วยองค์ประกอบของการสื่อสาร  การสื่อสารมีองค์ประกอบดังนี้  (1)  สัญลักษณ์  (2)  การสื่อสารต้องมีความเข้าใจในสัญลักษณ์หรือภาษาให้ตรงกัน  (3)  การสื่อสารจะต้องมีการปฎิสังสรรค์  (4)  การลดความไม่แน่ใจ  (5)  กระบวนการ  (6)  การแลกเปลี่ยนระหว่างกัน  (10)  การลอกเลียนความทรงจำ  (11)  เลือกวิธีการที่จะตอบโต้  (12)  สิ่งเร้า  (13)  ความตั้งใจ  (14)  กาลเทศะ  (15)  อำนาจ
               ทฤษฎีโครงสร้างในสมองหรือข้อมูลสะสมในสมองและพฤติกรรมของมนุษย์  เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกภายนอกของมนุษย์  ซึ่งผู้รับข่าวสารจะต้องเกิดความรู้ความเข้าใจในข่าวสารก่อนแล้วจึงมีพฤติกรรมตามมา  ทฤษฎีนี้มีความเชื่อดังนี้  (1)  สิ่งเร้า  (2)  ทฤษฎีนี้เชื่อว่าสิ่งเร้านำไปสู่กระบวนการตอบสนอง  (3)  ทฤษฎีนี้มองการทำงานของคนเหมือนการมองคอมพิวเตอร์ (4) ทฤษฎีนี้เชื่อว่าความคิดเป็นผู้กำหนดภาษาและการแสดงออกของมนุษย์
              ทฤษฎีว่าด้วยความเกี่ยวพันส่วนตัวและการประเมินสิ่งรอบตัว  ทฤษฎีนี้ความเชื่อดังนี้  (1)  มนุษย์ประเมินสิ่งต่าง ๆ  รอบตัวโดยอัตโนมัติ  (2)  มนุษย์จะใจแคบหรือกว้างอยู่ที่ความเกี่ยวพันกับตัวเอง
              ทฤษฎีความไม่กลมกลืนของระบบความคิดในสมอง  เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงพฤติกรรมของบุคคลซึ่งเกิดจากความวิตกกังวลหรือความเข้าใจด้านต่าง  ที่ไม่สอดคล้อง  ความไม่กลมกลืนหรือสภาพความไม่สมดุลของระบบความคิดมีผลเกี่ยวพันกับสถานการณ์ต่าง ๆ
                วิธีการลดหรือหลีกเลี่ยงความไม่กลมกลืน  มีดังนี้  (1)  แสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม  (2)  หลบหลีกข้อข้อมูลที่ทำให้เกิดความไม่สบายใจ  (3)  เก็บเรื่องนั้นเป็นคลื่นใต้น้ำ  (4)  เปลี่ยน โครงสร้างทางความคิดเพื่อให้เกิดความสมดุล  (5)  เติมปัจจัยบางประการสู่โครงสร้างความคิดภายในเพื่อลดความไม่สมดุล  (6)  ลดความสำคัญเพื่อคงสภาพความสมดุล  (7)  บิดเบือนข้อมูลหรือรับบางส่วน  (8)  หาข้อมูลมาสนับสนุนความเชื่อ
                ทฤษฎีที่ว่าด้วยการชักจูงใจ  การโน้มน้าวใจ  ทฤษฎีนี้แบ่งออกเป็น  4  ลักษณะดังนี้  (1)  กลุ่มเชื่อ  (2)  กลุ่มสงสัย  (3)  กลุ่มเฉื่อย  (4)  กลุ่มปรปักษ์ 

ความจริงของชีวิต

ความจริงของชีวิต
(หลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด)
เรื่องสำคัญยิ่งใหญ่อีกเรื่องหนึ่งในพระพุทธศาสนาคือเรื่องหลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า The Law of Karma and Rebirth
ความเข้าใจเรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดจะช่วยแก้ปัญหาชีวิตได้ทุกแง่ทุกมุม ทำให้ไม่ต้องน้อยใจในชะตาชีวิตของตนและไม่ริษยาความสุขของผู้อื่น เพราะได้เห็นแจ้งแล้วว่า ความสุขทุกข์ รุ่งเรือง หรือล้มเหลวในชีวิตของแต่ละคนนี้เป็นผลรวมแห่งกรรมของตน หรือกรรมแห่งหมู่คณะของตนเป็นต้น
เรื่องกรรม ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์ความแตกต่างกันในเรื่องอุปนิสัยใจคอของคน แม้อยู่ในสิ่งแวดล้อมอย่างเดียวกันและมีมารดาบิดาเดียวกัน ได้รับการอบรมอย่างเดียวกัน  
ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งเรื่องกรรม ทำให้บุคคลมีน้ำอดน้ำทน มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ท้อถอย มีความเพียรสั่งสมกรรมดีขยาดต่อกรรมชั่ว ไม่ตีโพยตีพายเมื่อผิดหวัง และไม่ระเริงหลงในเมื่อประสบผลดี เราะมารู้แจ้งว่าผลทุกอย่างย่อมมีมาเพราะเหตุ
เรื่องกรรมช่วยให้บุคคลกล้าเผชิญชีวิตอย่างกล้าหาญเด็ดเดี่ยว สามารถมองเห็นแง่ดีแม้ของความผิดหวัง หรือส่งที่เรียกกันว่าโชคร้าย เพราะแจ่มแจ้งว่า มันเป็นการใช้หนี้กรรมอย่างหนึ่ง ทำให้เรือชีวิตเบาขึ้น ทำให้แล่นไปข้างหน้าได้รวดเร็วขึ้น เหมือนบุคคลมีหนี้สิน เมื่อได้ใช้หนี้ไปเสียบ้าง ย่อมทำให้สบายใจขึ้น เบาใจขึ้น
หลักกรรมจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่มีการเกิดใหม่หรือการเวียนว่ายตายเกิด เพราะมีปัญหาชีวิตหลายอย่างที่ไม่อาจเข้าใจได้ ถ้าปราศจากการเวียนว่ายตายเกิดหรือที่เรียกว่า สังสารวัฏเช่นปัญหาเรื่องคนดีบางคนมีชีวิตอยู่อย่างทุกข์ทรมาน และคนชั่วบางคนมีชีวิตอยู่อย่างสุขสำราญเป็นต้น ปัญหานี้จะเป็นเรื่องค้างโลกถ้ากฎแห่งกรรมและการเกิดใหม่ไม่เข้ามาช่วยแก้
อนึ่ง ช่วงชีวิตเพียงช่วงเดียวของบุคคลสั้นเกินไปไม่เพียงพอพิสูจน์กรรมที่บุคคลทำไว้แล้วได้ทั้งหมด การเกิดใหม่จะช่วยอธิบายกรรมในอดีตของคนได้อย่างดีที่สุด ดังนั้นชีวิตมนุษย์จึงเป็นสนามหรือเวทีสำหรับทดลองแรงกรรม ว่าใครได้ทำกรรมอะไรไว้มา น้อย เบาบาง หรือรุนแรงเพียงใด
                ด้วยประการฉะนี้ การศึกษาให้รู้แจ้งในเรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดจึงเป็นกุญแจดอกสำคัญไปสู่การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง มีผลเป็นความสุข สงบแก่ผู้ศึกษาเรียนรู้ มีประโยชน์ในการพัฒนาชีวิตจิตใจให้สูงขึ้นร่มเย็นและทำให้เห็นว่าการเกิดของเรามีความหมาย ไม่ใช่เกิดมาโดยบังเอิญ มีชีวิตอยู่อย่างหลักลอยปล่อยตัวและตายไปอย่างน่าสมเพชเวทนา
                เรื่องกรรม และการเวียนว่ายตายเกิดทำให้บุคคลหายงมงายหายตื่นเต้นต่อความขึ้นลงของชีวิต ช่วยคลี่คลายความข้องใจในความสับสนของชีวิต เป็นเรื่องที่พุทธศาสนิกผู้นับถือพระพุทธศาสนา ควรเรียนรู้และทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งเพื่อชีวิต เป็นเรื่องที่พุทธศาสนิกผู้นับถือพระพุทธศาสนา ความเรียนรู้และทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งเพื่อชีวิตของตนเองจะได้ดีขึ้นและทำผู้ใกล้ชิด เช่น บุตรหลาน หรือบริวารชนให้มีความเข้าใจในปัญหาชีวิตของตน
                ครู ผู้สอนวิชาศาสนาหรือวิชาอื่นใดก็ตามควรย้ำให้นักเรียนเข้าใจและเชื่อมั่นในเรื่องหลักกรรมและสังสารวัฎเพราะอันนี้คือพื้นฐานอันจะทำให้ศีลธรรมมั่นคงในจิตใจของเยาวชนเหล่านั้น
                ต่อไปนี้เป็นพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7 แห่งบรมจักรีวงศ์)
สำหรับพระพุทธศาสนานั้น ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าสิ่งที่เราควรจะสอนให้เข้าใจแลบะให้เชื่อมั่นเสียตั้งแต่ต้นทีเดียวคือสิ่งที่เป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนา นั่นคือ วัฏฏสงสาร การเวียนว่ายตายเกิดและกรรม ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว เป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนาเพราะหนทางปฏิบัติของพุทธศาสนาก็เพื่อให้พ้นจากวัฏฏสงสาร อันเป็นความทุกข์แต่สิ่งที่ดีประเสริฐยิ่งนั้นคือความเชื่อในกรรม แต่จะสอนแต่เรื่องกรรมอย่างเดียว ไม่สอนเรื่องวัฏฏสงสารด้วยก็ไม่สมบูรณ์
                ความเชื่อในกรรม ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นของประเสริฐยิ่งควรเพาะให้มีขึ้นในใจของคนทุกคน และถ้าคนทั้งโลกเชื่อมั่นในกรรมแล้ว มนุษย์ในโลกจะได้รับความสุขใจขึ้นมาก เป็นสิ่งที่ทำให้คนขวนขวายทำแต่กรรมดีโดยหวังผลที่ดี เรื่องวัฏฏสงสารและกรรมนี้เป็นของต้องมีความเชื่อ เพราะเป็นของที่น่าเชื่อกว่าความเชื่ออีกหลายอย่าง
                ข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่า ถ้าคนเราเชื่อกรรมจริง ๆ แล้ว ควรจะได้ความสุขใจไม่น้อย โดยที่ไม่ทำให้รู้สึกท้อถอยอย่างไร
                ข้าพเจ้าเห็นว่า เราควรพยายามสอนเด็กให้เชื่อมั่นในกรรมเสียแต่ต้นทีเดียว ยิ่งให้เชื่อได้มากท่าไรยิ่งดี ควรให้ฝังเป็นนิสัยทีเดียว
วิชาชีพสถาปัตยกรรม

วิชาชีพสถาปัตยกรรมคืออะไร " วิชาชีพสถาปัตยกรรม" หมายความว่า วิชาชีพสถาปัตยกรรม ที่ใช้ศาสตร์ และศิลป์สร้างสรรค์สถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมในสาขาสถาปัตยกรรมหลัก สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง สาขาภูมิสถาปัตยกรรม สาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนาศิลป์ และสาขาสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่กำหนดในกฎกระทรวง " วิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม" หมายความว่า วิชาชีพสถาปัตยกรรมที่กำหนดในกฎกระทรวง " ใบอนุญาต" หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมตามพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 " ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม" หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาติเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมจากสภาสถาปนิก ท

ประวัติความเป็นมาของการศึกษาและวิชาชีพสถาปัตยกรรม
ในปี พ.ศ. 2408 M.I.T. เป็นโรงเรียนสถาปัตยกรรมโรงเรียนแรกการศึกษาเน้นทางด้านเทคโนโลยีและออกแบบ ศึกษาตามแนวทางของ Ecole des Beause Arts ของประเทศฝรั่งเศส การเรียนออกแบบเน้นการเขียนการวาด วิชาที่เรียนควบคุ่กันไปได้แก่วิชาทางด้านวิศวกรรม หลักสูตรดังกล่าวเป็นหลักสูตร 4 ปี ต่อมา Walter Gropius นำแนวความคิดของ "Bauhaus" มาสอนที่มหาวิทยาลัย Haward เป็นการผสมผสานวิชาการด้านสถาปัตยกรรม ผังเมือง และภูมิสถาปัตยกรรมเข้าด้วยกัน ซึ่งมีผลต่อการปรับองค์กรเพื่อรองรับแนวทางการสอนลักษณะสหสาขาวิชานี้พร้อมๆ กัน ในช่วงเวลานี้มหาวิทยาลัย Cornell เป็นผู้นำมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในการขยายหลักสูตรสถาปัตยกรรมเป็นหลักสูตร 5 ปี ซึ่งครอบคลุมวิชาการทางสถาปัตยกรรมงานศิลปะและเทคนิควิศวกรรมโครงสร้าง มหาวิทยาลัย Cornell ยังคงใช้หลักสูตร 5 ปีมาจนถึงปัจจุบัน ในปัจจุบันประมาณ 40% ของโปรแกรมหลักสูตรสถาปัตยกรรมในสหรัฐอเมริกาเป็นระบบ 4+2 ปี แต่ส่วนใหญ่ของโปรแกรมหรือประมาณ 60% ยังเป็นระบบ 5 ปี (B.Arch) เมื่อปี พ.ศ. 2476 การศึกษาด้านสถาปัตยกรรมในประเทศไทยได้เริ่มต้นจาก อาจารย์ นารถ โพธิประสาท ได้ไปศึกษา ณ.มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษและได้นำเอาการศึกษาระบบอังกฤษมาใช้ในประเทศไทย ที่เราเรียกกันว่าระบบรายปีหลักสูตร 5 ปี c
มาตรฐานการให้บริการวิชาชีพสถาปัตยกรรม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงหลักปฏิบัติอันเป็นหลักเบื้องต้นของวิชาชีพ
2. เพื่อให้พื้นฐานของการปฏิบัติวิชาชีพตรงกัน
3. เพื่อให้เกิดความรอบคอบในการปฏิบัติวิชาชีพ
การบริการขั้นมูลฐาน
1. การวางเค้าโครงการออกแบบและการออกแบบร่างขั้นต้น (CONCEPTURAL DESIGN)
2. การออกแบบร่างขั้นสุดท้าย (PRELIMINARY DESIGN)
3. การทำรายละเอียดก่อสร้าง (WORKING DRAWING)
4. การขออนุญาตปลูกสร้างอาคารและการประกวดราคา (BUILDING PERMIT, BIDDING)
5. การก่อสร้าง (CONSTRUCTION)

วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคม

  การวิจัย (RESEARCH)
   
การตั้งชื่อเรื่องงานวิจัย (หัวข้อเรื่อง)
        การตั้งชื่อเรื่องงานวิจัย หรือการตั้งชื่อหัวข้อเรื่องวิจัยนั้นต้องสัมพันธ์กับปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย ชื่อเรื่องงานวิจัยที่ดีจะทำให้ผู้อ่านทราบว่างานวิจัยนี้ ปัญหาการวิจัยคืออะไร วัตถุประสงค์การวิจัยคืออะไร ทำกับใคร ที่ไหน ใช้วิธีการศึกษาวิจัยอย่างไร การใช้ถ้อยคำในการตั้งชื่อต้องใช้ภาษาที่ชัดเจน กะทัดรัด ไม่ซ้ำซ้อนกับชื่อเรื่องงานวิจัยของผู้อื่นที่ได้ทำไว้แล้ว งานวิจัยบางเรื่องนำวัตถุประสงค์การวิจัยมาตั้งเป็นชื่อเรื่องการวิจัย ด้วยเหตุผลที่ว่าชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์การวิจัยมีความสอดคล้องกัน เชื่อมโยงกัน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัยไปด้วยกันเป็นแนวเดียวกัน
        ชื่อเรื่องงานวิจัย หรือหัวข้อเรื่องที่ตั้งนั้นต้องสื่อความหมายได้ดี คือบ่งบอกถึงปัญหาวัตถุประสงค์ วิธีการศึกษาวิจัย ทำกับประชากรใด ที่ไหน โดยชื่อเรื่องวิจัยควรประกอบด้วย 1) ตัวแปรที่ศึกษา (Varlable) 2) ประชากร (Population) 3) วิธีการศึกษาวิจัย (Methodology)
        ตัวแปรที่ศึกษา(Variable) ตัวแปรคือสิ่งที่แปรค่าได้ (Vary) สามารถแปลค่าได้ต่างๆกัน ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ตัวแปรใดที่เป็นสาเหตุให้ตัวแปรอื่นแปรค่าได้ตัวแปรนั้น เรียกว่า ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ(Independent Variable) ส่วนตัวแปรใดที่การแปรค่าได้จากตัวแปรอื่นตัวแปรนั้นเป็นตัวแปรตาม (Dependent Variable) ซึ่งชื่อเรื่องวิจัยนั้นอาจแสดงทั้งตัวแปรต้นและตัวแปรตาม คือแสดงให้เห็นถึงตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยนี้
        ประชากร (Population) ประชากรคือหน่วยรวมทั้งหมดที่เราจะศึกษา ซึ่งในงานวิจัย ส่วนใหญ่จะศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง (Sample) ที่เป็นตัวแทนของประชากร เนื่องจากไม่สามารถศึกษากับประชากรจำนวนมากได้ ประชากรอาจเป็นคน เช่น ครู ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหาร ผู้ปกครอง นักเรียน ประชากรอาจเป็นสัตว์ หรือสิ่งของก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจที่จะศึกษาของผู้วิจัย
        วิธีการศึกษา (Methodology) วิธีการศึกษาเป็นการชี้ให้เห็นว่าผู้วิจัยใช้วิธีการใดในการศึกษา เช่น การพัฒนาหลักสูตร การประเมินผลหลักสูตร การเปรียบเทียบความคิดเห็น การศึกษาความสัมพันธ์ การทดลอง การสำรวจ ฯลฯ โดยบอกถึงวิธีการศึกษาอย่างกว้างๆ
        นอกจากชื่อเรื่องงานวิจัยจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ตัวแปรที่ศึกษาประชากร และวิธีการศึกษา แล้วสิ่งที่ควรพิจารณาในการตั้งชื่อเรื่องงานวิจัยควรประกอบด้วย
        1. การตั้งชื่อเรื่องไม่ควรยาวเกินไป ควรสั้นกระทัดรัด แต่สื่อความหมายของเรื่องที่จะศึกษาไม่ใช้คำฟุ่มเฟือยและคำที่ใช้ควรเป็นภาษาวิชาการที่ใช้ในการวิจัย
        2. ชื่อเรื่องงานวิจัยไม่ควรกว้างเกินไป ซึ่งจะทำให้ไม่ทราบว่าผู้วิจัยต้องการศึกษาอะไร
        3. การตั้งชื่อเรื่องอาจระบุประชากร หรือไม่ระบุประชากรก็ได้แล้วแต่ผู้วิจัย แต่ส่วนใหญ่จะระบุประชากร

ตัวอย่างการตั้งชื่อเรื่องงานวิจัยสาขาหลักสูตรและการนิเทศ
        1. การศึกษาปัจจัยที่สามารถจำแนกสมรรถภาพด้านการสอนของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จ. อุบลราชธานี (เฉลิมพล สวัสดิ์พงศ์, 2533)
        2. ดัชนีจำแนกประสิทธิภาพการสอนของครูคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา เขตการศึกษา 5 (นางกอบศิริ สถิตย์ศุภมาศ, 2533)
        3. การจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด ในเขตการศึกษา 5 (นายรังสรรค์ อ้วนวิจิตร, 2533)
        4. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และอัตราความคงทนในการเรียนรู้กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยสมุดลำดับภาพการ์ตูนกับสื่อการเรียนประเภทอื่น (น.ส.ปรียา โชคพิพัฒน์, 2534)
        5. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความท้อถอยในการปฏิบัติงานของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการ
ประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี (นางอุไร ประกอบกิจวิริยะ, 2534)
วัตถุประสงค์การวิจัย (RESEARCH OBJECTIVE)
        วัตถุประสงค์การวิจัย (Research Objective) เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยต่อเนื่องจากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยต้องสัมพันธ์กับปัญหาเพราะวัตถุประสงค์การวิจัยจะเป็นส่วนที่ชี้ให้เห็นว่าผู้วิจัยต้องการศึกษาอะไร ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดสมมติฐานการวิจัย วิธีการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป โดยทั่วไปการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยจะมีข้อความนำก่อนเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย ข้อความที่เราพบเห็นกันโดยทั่วไป เช่น...จากสภาพความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้....
        การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยตามปกติจะกำหนดในลักษณะของสิ่งที่จะกระทำเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการรู้ มากกว่าจะเป็นการนำเอาสิ่งที่รู้มาแล้วมาตั้ง เช่น
        ถ้าผู้วิจัยต้องการทราบว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ของครูและผู้บริหารแตกต่างกันหรือไม่ วัตถุประสงค์การวิจัย คือ เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและผู้บริหารเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)

        การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยอาจเขียนได้ 2 ลักษณะ
1. เขียนวัตถุประสงค์การวิจัยรวม เป็นวัตถุประสงค์เดียวไม่แยกเป็นวัตถุประสงค์การวิจัยทั่วไป (General Objective) และวัตถุประสงค์การวิจัยเฉพาะ ( Specific Objective)
        ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยรวมข้อเดียว
        - เพื่อพัฒนาหลักสูตรการวิจัยวัฒนธรรม ( มาเรียม นิลพันธุ์, 2535 )
2. เขียนวัตถุประสงค์การวิจัยเป็นวัตถุประสงค์การวิจัยที่มีทั้งวัตถุประสงค์การวิจัยทั่วไปก่อนแล้วจึงมาแยกเขียนเป็นวัตถุประสงค์การวิจัยเฉพาะ
สมมติฐาน (Hypothesis)
        สมมติฐาน (Hypothesis) คำตอบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งการคาดคะเนคำตอบหรือการคาดเดาคำตอบนี้อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎี (theory-based prediction) หรืออยู่บนพื้นฐานของแนวคิด ผลการวิจัย โดย Tuckman (1999 : 73) ได้กล่าวถึงสมมตฐานว่าคำตอบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพื่อตอบปัญหาการวิจัยที่กำหนดไว้ ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้
       1. เป็นข้อความที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว หรือมากกว่า
       2. เป็นข้อความที่เขียนอย่างชัดเจนไม่คลุมเครือ (clearly and unambigiously)
       3. เป็นสิ่งที่สามารถทดสอบได้ (testable)
ประเภทของสมมติฐาน (Type of Hypothesis)
       สมมติฐานโดยทั่วไปแยกได้ 2 ประเภท คือ สมมติฐานการวิจัย และสมมติฐานทางสถิติ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. สมมติฐานการวิจัย (Research Hypothesis)
 2. สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis)
ขอบเขตการวิจัย (Limitation of Research)

      ขอบเขตการวิจัย (Limitation of Research) เป็นส่วนที่กำหนดขอบเขตของการวิจัยว่าในการวิจัยเรื่องนั้นๆ มีขอบเขตการศึกษาเพียงใดอันจะทำให้ผู้อ่านงานวิจัยเข้าใจงานวิจัยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งให้งานวิจัยนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัยโดยทั่วไปขอบเขตการวิจัยจะระบุเกี่ยวกับ
        - ประชากร และตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
        - ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ทั้งตัวแปรต้นและตัวแปรตาม
        นอกจากนี้การเขียนขอบเขตการวิจัยอาจระบุถึงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจงใน
การศึกษา
กรอบความคิด (Conceptual Framework)
           กรอบความคิดสำหรับการวิจัย หมายถึง โมเดลแสดงความสัมพันธ์ตามทฤษฎีระหว่างตัวแปรที่นักวิจัยศึกษา นักวิจัยสร้างกรอบความคิดจากการทบทวนวรรณคดี ทฤษฎีและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นภาพจำลอง (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2543 : 51) และสุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2540 : 63-64) ได้ให้ความหมายของกรอบแนวความคิดในการวิจัย หมายถึง กรอบของการวิจัยในด้านเนื้อหาสาระ ซึ่งประกอบด้วยตัวแปร และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ปัญหาที่มักถกเกียงกันคือ การวิจัยจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีกรอบแนวความคิด มีการกล่าวกันว่าการวิจัยเชิงพรรณนาไม่จำเป็นต้องมีกรอบแนวความคิด แต่การวิจัยเชิงอธิบายจำเป็นต้องมีกรอบแนวความคิด กรอบแนวความคิดกับการวิจัยเชิงอธิบายโดยทั่วๆไป กรอบแนวความคิดมีความหมายกว้างมากกว่าการระบุว่ามีตัวแปรอะไรบ้างที่จะใช้ในการวิจัย กล่าวคือ กรอบแนวคิดจะต้องระบุว่ามีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ทั้งนี้เพราะการศึกษาในเรื่องเดียวกันมีทฤษฎีต่างๆ หรือแนวคิดในการมองปัญหามากมายหลายรูปแบบ การระบุกรอบแนวความคิดจึงเป็นการช่วยให้นักวิจัยและผู้อื่นได้ทราบว่า ผู้วิจัยมีแนวคิดอย่างไรเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการศึกษาและคิดว่าอะไรสัมพันธ์กับอะไรในรูปแบบใดและทิศทางใด
            ที่มาของกรอบแนวความคิดในการวิจัยมาจากผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้อง

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติ พัฒนาการ และความเป็นมา ของเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

1. เทคโนโลยีสารสนเทศ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

คำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากคำ 2 คำนำมารวมกัน คือ คำว่า เทคโนโลยี และสารสนเทศ

เทคโนโลยี + สารสนเทศ = เทคโนโลยีสารสนเทศเมื่อพิจารณาความหมายของแต่ละคำจะมีความหมายดังนี้

เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ข้อมูลดังกล่าวต้องผ่านการเก็บรวบรวม จัดเก็บ ตรวจสอบความถูกต้อง แบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล และสรุปออกมาเป็นสารสนเทศ และมนุษย์นำเอาสารสนเทศนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น รายงาน ผลงานการวิจัย ข่าวสารต่าง ๆ

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ฯลฯ
1. ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

        ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม

2. ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
  ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน

3. ความหมายของข้อมูล
       ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว

4. ความหมายของสารสนเทศ
    สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้

5. ลักษณะสารสนเทศที่ดี
เนื้อหา (Content)
·     ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness)
·     ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
·     ความถูกต้อง (accuracy)
·     ความเชื่อถือได้ (reliability)
·     การตรวจสอบได้ (verifiability)
รูปแบบ (Format)
·     ชัดเจน (clarity)
·     ระดับรายละเอียด (level of detail)
·     รูปแบบการนำเสนอ (presentation)
·     สื่อการนำเสนอ (media)
·     ความยืดหยุ่น (flexibility)
·     ประหยัด (economy)
เวลา (Time)
·     ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)
·     การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
·     มีระยะเวลา (time period)
กระบวนการ (Process)
·     ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
·     การมีส่วนร่วม (participation)
·     การเชื่อมโยง (connectivity)
6. ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(Management Information System)
        ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่รวบรวม ประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผน การพัฒนาตัดสินใจ ประสานงาน และควบคุมการดำเนินงาน

7. องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์
         ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based information systems CBIS) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ฐานข้อมูล (database) เครือข่าย (network) กระบวนการ (procedure) และคน (people)
  Sorry, your browser doesn't support Java(tm).
- ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ และ ผลิต เอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ
- ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
- ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน
- เครือข่าย (Network) คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสาร
- กระบวนการ (Procedure) ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์ วิธีการ และกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ระบบสารสนเทศ
- คน (People) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ เช่น ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้ระบบ
8. ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
ประสิทธิภาพ (Efficiency)
•  ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม ประมวลผลและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็วระบบสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล (access) เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วย
•  ช่วยลดต้นทุน การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ซึ่งมีปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมาก
•  ช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน (machine to machine) หรือคนกับคน (human to human) หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (human to machine) และการติดต่อสื่อสารดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้ทันที
•  ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่าง ๆ เป็นไปได้ด้วยดีโดยเฉพาะหากระบบสารสนเทศนั้นออกแบบ เพื่อเอื้ออำนวยให้หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของซัพพลายทั้งหมด จะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และทำให้การประสานงาน หรือการทำความเข้าใจเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น
ประสิทธิผล (Effectiveness)
•  ระบบสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ออกแบบสำหรับผู้บริหาร เช่น ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision support systems) หรือระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive support systems) จะเอื้ออำนวยให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจได้ดีขึ้น อันจะส่งผลให้การดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ไว้ได้
•  ระบบสารสนเทศช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/บริการที่เหมาะสมระบบสารสนเทศจะช่วยทำให้องค์การทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน ราคาในตลาดรูปแบบของสินค้า/บริการที่มีอยู่ หรือช่วยทำให้หน่วยงานสามารถเลือกผลิตสินค้า/บริการที่มีความเหมาะสมกับความเชี่ยวชาญ หรือทรัพยากรที่มีอยู่
•  ระบบสารสนเทศช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการให้ดีขึ้นระบบสารสนเทศทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยงานและลูกค้า สามารถทำได้โดยถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ดังนั้นจึงช่วยให้หน่วยงานสามารถปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้นด้วย
•  ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)
•  คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality o f Working Life)
กล่าวกันว่าในปัจจุบันนี้โลกเข้าสู่ยุคของข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ (Information) มีความจำเป็นทั้งภาครัฐและเอกชน จะต้องอาศัยสารสนเทศเข้ามาช่วยในการตัดสินใจ (Make decision) การตัดสินใจเป็นกิจกรรมที่สำคัญจะต้องตัดสินใจให้ถูกต้องและรวดเร็ว การตัดสินใจที่ล่าช้าจะก่อให้เกิดผลเสียตามมามากมาย อาจทำให้เกิดการสูญเสียโอกาสในการแข่งขันหรือการแก้ปัญหาในระดับชาติ (ประสงค์ ปราณีตาพลกลังและคณะ : 2541 : 1) จากคำกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าสารสนเทศ (Information) เป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งในยุคของสังคมโลกปัจจุบัน ดังนั้นจึงจำเป็นยิ่ง ที่นักการศึกษาในฐานะที่จะต้องเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการให้ความรู้แก่ผู้อื่น จะต้องมีความเข้าใจในเรื่องของสารสนเทศ เมื่อกล่าวถึงสารสนเทศ (Information) สิ่งแรกที่ควรจะต้องกล่าวถึงก็คือ ข้อมูล (Data) ซึ่งเป็นพื้นฐานของสารสนเทศ

ข้อมูล (Data) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักในการอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ ข้อมูลจึงมีความหมายในลักษณะที่เป็นข้อมูลดิบ (Raw data) เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ได้จากการสังเกตปรากฎการณ์การกระทำหรือลักษณะต่าง ๆ ของวัตถุ สิ่งของ คน สัตว์ หรือพืช แล้วบันทึกไว้เป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพหรือเสียง (อ้างใน วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา : 2542 : 1)

สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่นำมาสรุปประมวลผล ดำเนินการทางสถิติ เปรียบเทียบหรือดำเนินการโดยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้รับได้เข้าใจความเป็นไปหรือสถานการณ์ของสิ่งที่มีสารสนเทศนั้นเป็นตัวแทน (ครรชิต มาลัยวงศ์ : 1998 : 20) วาสนา สุขกระสานติ ใน (2541 : 6-1) ได้ให้ความหมายของคำว่า สารสารเทศ (Information) ว่าหมายถึง "ข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบ (Raw data) มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที" ครรชิต มาลัยวงศ์ (1998:20) ได้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีกลุ่มหนึ่งที่มีประโยชน์ในการจัดทำสารสนเทศและส่งสารสนเทศนั้นให้ถึงมือผู้รับ วศิน ธูปประยูร (อ้างในสานิตย์ กายาผาด : 2542 : 2) กล่าวว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ในการประมวลผลสารสนเทศได้แก่ ไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องประมวลผลคำ และเครื่องที่สามารถประมวลผลได้โดยอัตโนมัติอื่น ๆ เครื่องสมองกลเหล่านี้เป็นนวัตกรรมของมนุษย์ที่สร้างสรรขึ้นมา เพื่อรวบรวมผลิตสื่อสาร บันทึก เรียบเรียงใหม่แสดงผลประโยชน์จากสารสนเทศ" มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (อ้างในสานิตย์ กายาผาด : 2542 : 3) กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศว่าหมายถึง "เทคโนโลยีทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ เริ่มจากเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดเก็บ ประมวลผล แสดงผลและเผยแพร่สารสนเทศในรูปของข้อมูล ข้อความหมายและเรื่องโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม" วาสนา สุขกระสานติ (2541:6-1) ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศว่า หมายถึง "กระบวนการต่าง ๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการโดยจะรวมถึง 1) เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งส่วนมากแล้วจะหมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์โทรคมนาคมต่าง ๆ รวมทั้งซอฟแวร์ทั้งแบบสำเร็จรูป และแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือสมัยใหม่และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology) 2) กระบวนการในการนำเอาเครื่องมือต่าง ๆ มาใช้งาน เพื่อรวบรวมจัดเก็บ ประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป พิจารณาจากคำจำกัดความดังกล่าวข้างต้น เมื่อมองสภาพวิวัฒนาการของเทคโนโลยีในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม มีบทบาทเป็นอย่างมากสำหรับโลกแห่งข้อมูลสารสนเทศในปัจจุบัน ครรชิต มาลัยวงศ์ (1998:20) กล่าวถึงยุคก่อนคอมพิวเตอร์ว่า "ไอ ที หมายถึง เทคโนโลยีการพิมพ์ กล้องถ่ายรูป เครื่องพิมพ์ดีด โทรเลขและโทรศัพท์ พอมาถึงยุคนี้ นักวิชาการหลายคนพอใจที่จะให้คำนิยามไอที ให้เหลือเพียงเป็นการผสมผสานกัน ระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม และบางคนไปไกลถึงกับขอเปลี่ยนชื่อเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ว่าเป็น เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (Information and Communication Technology) เรียกย่อ ๆ ว่า ICT" นอกจากนี้แล้ว ครรชิต มาลัยวงศ์ ยังวิเคราะห์ต่อไปว่าหากจะแยกย่อยเทคโนโลยีสารสนเทศออกเป็นส่วน ๆ แล้ว จะเห็นว่า คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับจัดเก็บบันทึกและประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ หรือจัดทำเป็นรายงานต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ แต่เมื่อจัดทำแล้วไม่สามารถส่งไปยังผู้ต้องการใช้อย่างรวดเร็ว รายงานเหล่านี้ก็ไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามาช่วยให้สามารถส่งสารสนเทศ หรือรายงานที่จัดทำขึ้นนั้นไปยังผู้รับได้โดยตรงและทันที จากคำจำกัดความดังกล่าวของข้อมูล (Data) สารสนเทศ (Information) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) แล้ว พอจะจัดความสัมพันธ์ของทั้ง 3 ส่วน ได้ดังนี้
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้งาน ซึ่งในส่วนของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เช่น การนำข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อการนำเข้าสู่การประมวลผลข้อมูล ไปสู่ผู้ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การตัดสินใจ การเรียนรู้ ธุรกิจ หรือเพื่อความบันเทิง
เป้าหมายของเทคโนโลยี

การพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอน เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพ ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง อุตสาหกรรม นั้น จำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายดังนี้

1.5.1  ขยายขอบเขตของทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้กว้างขวางออกไป โดยคำนึงถึง
        1) คน กำหนดให้คนเป็นแหล่งทรัพยากรเรียนรู้ที่สำคัญ เช่น ครู ตำรวจ เกษตรกร
        2) วัสดุเครื่องมือ ประเภทโสตทัศนูปกรณ์ รวมทั้งการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษาให้มากขึ้น
        3) เทคนิคการสอน ที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
        4) สถานที่ต่าง ๆ ให้สามารถเป็นแหล่งประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ไร่นา ทะเล องค์การรัฐบาล

1.5.2  เน้นการเรียนแบบเอกัตบุคคล โดยการจัดหาสื่อเพื่อสนองความต้องการ และ ความแตกต่างระหว่างบุคคล

1.5.3  การนำวิธีวิเคราะห์ระบบการศึกษา โดยใช้การปฏิบัติหรือการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบมาใช้ในการเรียนการสอน

การนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในประเทศไทย จะมีทิศทางในการใช้ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

1.6.1 มีแนวโน้มในการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในลักษณะต่อไปนี้ มีการใช้สื่อการ สอนเป็นรายบุคคลมากขึ้น
        เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังใช้ระบบการศึกษาทางไกลมากขึ้นในระดับที่สูงกว่าประถมศึกษา
1.6.2 การใช้สื่อการศึกษาที่ผลิตขึ้นจากท้องถิ่นอย่างเหมาะสมจะมีบทบาทสำคัญ ๆ ทั้งนี้เพราะงบประมาณที่จำกัด โดย
       เฉพาะประเภทที่ยากจน
1.6.3 การจัดองค์การและการบริหารงานจะออกมาในรูปเป็นกลุ่ม เพื่อการประหยัด งบประมาณ ใช้งบประมาณให้
       คุ้มค่าที่สุด และมีประสิทธิผลที่สุด
1.6.4 การวางหน้าที่ของสายงานโดยเฉพาะประเทศไทย จะมีรูปแบบที่คล้าย ๆ กัน แต่ขยาดเล็กใหญ่ตามความ
       เหมาะสมของงานแต่ละแห่ง
1.6.5 การวิจัยทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาและการหานวัตกรรมทางการศึกาาที่สามารถนำมาใช้ได้จริง ๆ เริ่ม
       มีมากขึ้น
1.6.6 แหล่งทรัพยากรการเรียน โดยเฉพาะบุคลากรในชุมชน เริ่มให้ความสนใจและให้ความร่วมมือกับฝ่ายการ
       ศึกษามากขึ้น
1.6.7 ปัจจุบัน รัฐบาลไทยให้ความสำคัญต่อการศึกษา โดยเน้นการใช้สื่อการสอนและเทคโนโลยีเข้าช่วยแก้ปัญหา
       ทั้งนี้ได้กำหนดให้เทคโนโลยีการศึกษาเป็นหมวดหนึ่งใน 9 หมวดมาตรา ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
       ฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2542) ซึ่งเน้นว่า
        1) ส่งเสริมสนับสนุนในการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาทุกรูปแบบ
        2) พัฒนาบุคลากรในด้านความรู้ ทักษะ การใช้ เทคโนโลยีอย่างมีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
        3) พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ และทักษะในการนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและหาความรู้ด้วยตนได้ตลอดชีวิต
        4) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนการติดตามประเมินผล การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาว่าคุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
2.คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์[2][3] เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมายคอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไปหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่างๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่างๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบันคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกันคอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit)โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินขับไล่ และของเล่นชนิดต่างๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
ประวัติของการคำนวณโดยใช้คอมพิวเตอร์
มีการบันทึกไว้ว่า ครั้งแรกที่มีการใช้คำว่า "คอมพิวเตอร์" คือเมื่อ ค.ศ. 1613 ซึ่งหมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่คาดการณ์ หรือคิดคำนวณ และมีความหมายเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 และตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มา ความหมายของคำว่าคอมพิวเตอร์นี้เริ่มมีใช้กับเครื่องจักรที่ทำหน้าที่คิดคำนวณมากขึ้น[5]
คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีฟังก์ชันจำกัด
ประวัติของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่นั้นเริ่มต้นจากเทคโนโลยี 2 ชนิดที่แยกจากกัน ได้แก่ โปรแกรมคำนวณแบบอัตโนมัติ กับ โปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้น แต่ระบุแน่ชัดไม่ได้ว่าเทคโนโลยีใดชนิดใดเกิดขึ้นก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะแต่ละโปรแกรมนั้นไม่มีความสอดคล้องกัน ในอดีต เครื่องมือจำพวกหนึ่ง อย่าง ลูกคิดของชาวสุเมเรียน ที่ถูกออกแบบขึ้นราว 2,500 ปีก่อน ค.ศ.[6] ที่ซึ่งลูกหลานเคยชนะการแข่งขันความเร็วในการคำนวณโดยใช้เครื่องคำนวณสมัยใหม่ชนิดวางบนโต๊ะที่ประเทศญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1946[7] ถือเครื่องช่วยคำนวณที่ประสบความสำเร็จและอยู่รอดมาเป็นศตวรรษ คำนวณจนกระทั่งถึงยุคของเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ ต่อมาในคริสต์ศตวรรษ 1620 1629 มีการประดิษฐ์สไลด์รูล ที่ถูกนำขึ้นยานอวกาศในภารกิจของโครงการอะพอลโลถึง 5 ครั้ง รวมถึงเมื่อครั้งที่สำรวจดวงจันทร์ด้วย[8] นอกจากนี้ยังมี เครื่องทำนายตำแหน่งดาวฤกษ์ (Astrolabe) และ กลไกอันติคือเธรา ซึ่งเป็นเครื่องคำนวณ (คอมพิวเตอร์) เกี่ยวกับดาราศาสตร์ยุคโบราณที่ชาวกรีกเป็นผู้สร้างขึ้นราว 80 ปีก่อน ค.ศ.[9] ที่มาของระบบการสั่งการโปรแกรมเกิดขึ้นเมื่อ ฮีโรแห่งอเล็กซานเดรีย (c.10-70 AD) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกสร้างโรงละครที่ประกอบด้วยเครื่องจักร ใช้แสดงละครความยาว 10 นาที และทำงานโดยมีกลไกเชือกและอิฐบล็อกทรงกระบอกที่ซับซ้อน ซึ่งสามารถตัดสินใจเลือกได้ว่าจะชิ้นส่วนกลไกใดใช้ในการแสดงฉากใดและเมื่อใด[10]ราวๆ ปลายศตวรรษที่ 10 สมเด็จพระสันตะปาปาซิลเวสเตอร์ที่ 2 นักบวชชาวฝรั่งเศส ได้นำลิ้นชักบรรจุอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่จะตอบคำถามได้ว่าใช่ หรือ ไม่ใช่ เมื่อถูกถามคำถาม (ด้วยเลขฐานสอง)[11] ซึ่งชาวมัวร์ประดิษฐ์ไว้กลับมาจากประเทศสเปน ในศตวรรษที่ 13 นักบุญอัลแบร์ตุส มาญุส และโรเจอร์ เบคอน นักปราชญ์ชาวอังกฤษ ได้สร้างหุ่นยนต์แอนดรอยด์ (android) พูดได้ โดยไม่ได้พัฒนาใดๆ ต่ออีก (นักบุญอัลแบร์ตุส มาญุส บ่นออกมาว่าเขาเสียเวลาเปล่าไป 40 ปีในชีวิต เมื่อนักบุญโทมัส อควีนาสตกใจกับเครื่องนี้และได้ทำลายมันเสีย) [12]ในปี ค.ศ. 1642 แห่งยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา มีการประดิษฐ์เครื่องคำนวณของปาสคาลซึ่งเป็นเครื่องคำนวณตัวเลขเชิงกล[13] เป็นอุปกรณ์ที่จะสามารถคำนวณโดยใช้ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์โดยไม่ต้องพึ่งสติปัญญามนุษย์[14] เครื่องคำนวณเชิงกลนี้ยังถือเป็นรากฐานของการพัฒนาคอมพิวเตอร์ในสองทาง แรกเริ่มนั้น ความพยายามที่จะพัฒนาเครื่องคำนวณที่มีสมรรถภาพสูงและยืดหยุ่น[15] ซึ่งทฤษฎีนี้ถูกสร้างโดยชาร์ลส แบบเบจ[16][17] และได้รับการพัฒนาในเวลาต่อมา[18] นำไปสู่การพัฒนาเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่) ขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1960 และในขณะเดียวกัน อินเทล ก็สามารถประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเป็นหัวใจสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์หากไม่คำนึงถึงขนาดและวัตถุประสงค์[19] ขึ้นได้โดยบังเอิญ[20] ระหว่างการพัฒนาเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ บิซิคอม ที่พัฒนาสืบต่อจากเครื่องคำนวณเชิงกลโดยตรง
ประเภทของคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้ใช้วงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่มาก (very large scale integrated circuit) ซึ่งสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่าสิบล้านตัว เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก
มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)
มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น
ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC)
ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น เช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกระทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูกๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E - mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่นๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า
โน้ตบุ๊ค (notebook or laptop)
โน้ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ในปัจจุบันมีขนาดพอๆกับสมุดที่ทำด้วยกระดาษ
เน็ตบุ๊ค (netbook or laptop)
เน็ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์และเล็กกว่าโน้ตบุ๊ค ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา
แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (tablet computer)
แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แท็บเล็ต คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม [21]
ตัวอย่างประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์มีประโยชน์กับเรามากมาย เช่น
1.       การใช้งานภาครัฐ งานทะเบียนราษฎร์ของรัฐบาล เช่น การแจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยู่ การทำบัตรประจำตัวประชาชน งานภาษี เช่น ยื่นแบบประเมินภาษีภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต เก็บทะเบียนประวัติผู้เสียภาษี ตรวจสอบการเสียภาษี
2.       งานสายการบิน การสำรองที่นั่งผู้โดยสาร การลดงานเอกสาร
3.       ทางด้านการศึกษา สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนออนไลน์ให้กับผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
4.       ธุรกิจการนำเข้าสินค้าและส่งออก การทำธุรกิจแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
5.       ธุรกิจธนาคาร ช่วยด้านงานข้อมูลธนาคาร รับ-จ่ายเงิน เก็บประวัติลูกค้า ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ
6.       วิทยาศาสตร์และการแพทย์ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาของคนไข้ วิจัย คำนวณ และ การจำลองแบบ
7.       งานสถาปนิก ช่วยออกแบบ เขียนแบบ หรือทำแบบจำลองสามมิติ
8.       งานภาพยนตร์ การ์ตูน แอนิเมชัน ช่วยสร้างตัวการ์ตูนเคลื่อนไหว ออกแบบตัวการ์ตูน จำลองตัวการ์ตูนสามมิติ การตัดต่อภาพยนตร์
9.       งานด้านสถิติ ช่วยเก็บบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ จำลองแบบข้อมูล และการเผยแพร่ข้อมูล
10.   ด้านนันทนาการ ช่วยให้ความบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง ร้องคาราโอเกะ เล่นเกม
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
ประวัติคอมพิวเตอร์มีมานานแต่ที่เริ่มเข้าสู่ยุคใช้กลไกอิเล็กทรอนิกส์ภายในคอมพิวเตอร์นั้น เริ่มเมื่อราว พ.ศ. 2483 เมื่อมีการสร้างคอมพิวเตอร์ลักษณะนี้เป็นเครื่องแรกชื่อ ENIAC (electronic numerical integrator and calculator) ที่มหาวิทยาลัยเพนน์ซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยหลอดสุญญากาศประมาณ 18,000 หลอด เป็นกลไกอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ตัวนี้ติดตั้งอยู่ในห้องขนาดประมาณ 20×10 ตารางเมตร และมีน้ำหนักกว่า 30 ตัน เนื่องจากใช้หลอดสุญญากาศ ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับอายุการใช้งาน จึงทำให้คอมพิวเตอร์ตัวนี้มีอัตราการเสียบ่อยครั้งมาก แต่ถึงกระนั้นก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าคอมพิวเตอร์ มีความสามารถที่สร้างประโยชน์ในการประมวลผลได้ราว พ.ศ. 2491 วิลเลียม ช็อคเลย์ (William Shockley) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันได้ทำการวิจัยและสามารถประดิษฐ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า ทรานซิสเตอร์ (Transistor) จากสารกึ่งตัวนำได้ ทรานซิสเตอร์สามารถทำงานแทนหลอดสุญญากาศด้วยประสิทธิภาพและสามารถไว้วางใจได้สูง ตลอดจนการผลิตทางอุตสาหกรรมสามารถจะทำครั้งละมากๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิตได้ วงจรอิเล็กทรอนิกส์หันมาใช้ทรานซิลเตอร์แทนหลอดสุญญากาศ ราวต้นปี พ.ศ. 2503 มีการสร้างคอมพิวเตอร์โดยใช้ทรานซิสเตอร์เป็นกลไกอิเล็กทรอนิกส์ นับเป็นรุ่นที่สอง (second generation) ของคอมพิวเตอร์ ถัดจากรุ่นที่หนึ่งที่ใช้หลอดสุญญากาศ คอมพิวเตอร์จึงเริ่มเข้าสู่ยุคที่สามารถผลิตออกขายในตลาดได้ประมาณปี พ.ศ. 2508 วงการเทคโนโลยีสารกึ่งตัวนำประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงที่สามารถสร้างทรานซิสเตอร์หลายๆ ตัวให้อยู่บนแผ่นซิลิคอนขนาดตารางมิลลิเมตรได้ เรียกว่า วงจรรวมหรือไอซีนั่นเอง ทำให้เกิดรุ่นที่สามของคอมพิวเตอร์ซึ่งกลไกอิเล็กทรอนิกส์ภายในอาศัยไอซีดังกล่าว และคอมพิวเตอร์เริ่มมีขนาดเล็กลงรวมทั้งต้นทุนการผลิตก็ลดลงด้วยการออกแบบคอมพิวเตอร์เริ่มมีความคล่องตัว ทั้งในด้านสมรรถนะและราคาตั้งแต่บัดนั้นจนกระทั่งปัจจุบันนี้ คอมพิวเตอร์มีประเภทที่เรียกว่า ขนาดใหญ่ (main frame) สามารถที่จะประมวลผลตลอดจนเก็บข้อมูลไว้ครั้งละมากๆ ได้ สามารถจะคำนวณคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนด้วยอัตราเร็วสูง คอมพิวเตอร์อีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer) มีสมรรถนะด้อยกว่าคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในด้านอัตราเร็วการทำงาน แต่มีราคาที่ต่ำกว่า เหมาะแก่งานธุรกิจและวิทยาศาสตร์ขนาดย่อมลงมา ปัจจุบันมินิคอมพิวเตอร์ได้วิวัฒนาการจนมีสมรรถนะทั้งความจุหน่วยความจำและอัตราเร็วต่อการทำงานสูงกว่าคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ผลิตในระยะแรกๆ
3.อินเทอร์เน็ต
ประวัติอินเทอร์เน็ต
ความคิดเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์เครือข่ายเดียวที่สามารถให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต่างระบบกันสามารถสื่อสารกันได้นั้นได้มีการพัฒนาผ่านขั้นตอนหลายขั้นตอนด้วยกัน การหลอมรวมกันของการพัฒนาเหล่านั้นได้นำไปสู่เครือข่ายของเครือข่ายทั้งหลายที่รู้จักกันในชื่อว่า อินเทอร์เน็ต การพัฒนาเหล่านั้นมีทั้งในแง่การพัฒนาเทคโนโลยี และการรวมโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายและระบบโทรคมนาคมที่มีอยู่เดิมเข้าด้วยกัน
ความคิดเรื่องนี้ในครั้งแรก ๆ ปรากฏขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 หากแต่การนำแนวคิดเหล่านี้ไปปฏิบัติได้จริงนั้นเริ่มขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 เมื่อถึงคริสต์ทศวรรษ 1980 เทคโนโลยีซึ่งนับได้ว่าเป็นพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตสมัยใหม่นั้นได้เริ่มแพร่หลายออกไปทั่วโลก ในคริสต์ทศวรรษ 1990 การมาถึงของเวิลด์ไวด์เว็บได้ทำให้การใช้อินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไป
Description: รอการตรวจสอบ
ความคิดเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์เครือข่ายเดียวที่สามารถให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต่างระบบกันสามารถสื่อสารกันได้นั้นได้มีการพัฒนาผ่านขั้นตอนหลายขั้นตอนด้วยกัน การหลอมรวมกันของการพัฒนาเหล่านั้นได้นำไปสู่เครือข่ายของเครือข่ายทั้งหลายที่รู้จักกันในชื่อว่า อินเทอร์เน็ต การพัฒนาเหล่านั้นมีทั้งในแง่การพัฒนาเทคโนโลยี และการรวมโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายและระบบโทรคมนาคมที่มีอยู่เดิมเข้าด้วยกัน
ความคิดเรื่องนี้ในครั้งแรก ๆ ปรากฏขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 หากแต่การนำแนวคิดเหล่านี้ไปปฏิบัติได้จริงนั้นเริ่มขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 เมื่อถึงคริสต์ทศวรรษ 1980 เทคโนโลยีซึ่งนับได้ว่าเป็นพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตสมัยใหม่นั้นได้เริ่มแพร่หลายออกไปทั่วโลก ในคริสต์ทศวรรษ 1990 การมาถึงของเวิลด์ไวด์เว็บได้ทำให้การใช้อินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไป

อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

ที่มา
อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำได้หลากหลาย อาทิเช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail) , สนทนา (Chat), อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด, การติดตามข่าวสาร, การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล, การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์ , การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ, การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์, การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์, การเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning), การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference), โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP), การอับโหลดข้อมูล หรือ อื่นๆแนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ตคือการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายสังคม ซึ่งพบว่าปัจจุบันเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไฮไฟฟ์ และการใช้เริ่มมีการแพร่ขยายเข้าไปสู่การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) มากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันสนับสนุนให้การเข้าถึงเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือถือทำได้ง่ายขึ้นมาก
พัฒนาการของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย
  • โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud
  • เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC
  • สายโทรศัพท์ทองแดง
โดยเครือข่ายที่ได้ วิ่งด้วยความเร็ว 1200 - 2400 Baud และมีเสียงดังมาก จากนั้นได้ปรับเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้เทคโนโลยี X.25 ผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยังศูนย์บริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น โดยใช้โปรแกรม UUCP ตลอดจนส่งอีเมล์ไปยังบริษัท UUNET ที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา และนำมาใช้กับงานของอาจารย์ และงานสอนนักศึกษาในเวลาต่อไป นับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นบุคคลแรกที่เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย หลังจากนั้นได้มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP) ได้ให้ความช่วยเหลือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2531 โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยในการเชื่อมโยงไปที่เครื่องแม่ข่าย ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet - Thai Computer Science Network โดยมีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ประเภทหนึ่ง ที่แพร่หลายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของออสเตรเลีย (Australian Computer Science Network - ACSNet) ซอฟต์แวร์ SUNIII เป็นโปรแกรม UNIX ที่สามารถรับส่งข้อมูลไปกลับได้เลยในการติดต่อครั้งเดียว ประกอบด้วยเครือข่ายการส่งข้อมูลระบบ Multiple Hops ทำให้แตกต่างจาก UUCP ตรงที่ผู้ใช้ไม่ต้องใส่คำสั่ง และบอกที่อยู่ของจุดหมายปลายทางผ่านระบบทางไกล เพราะเครือข่าย SUNIII สามารถหาที่อยู่ของปลายทาง และส่งข้อมูลได้เอง โปรแกรมนี้ทำงานได้ดีทั้งกับสายเช่าแบบถาวร (Dedicated Line) สายโทรศัพท์ธรรมดาที่ติดต่อแบบ Dial-up และสายที่ใช้ X.25 นอกจากนี้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไป สามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างกว้างขวาง ปี พ.ศ. 2534 อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ โดยใช้โปรแกรม MHSNet และใช้โมเด็ม 14.4 Kbps (ซึ่งเร็วที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น) และทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่อง Munnari ของออสเตรเลีย กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศผ่านโปรแกรม UUCP เครือข่ายแห่งใหม่นี้ ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยต่างๆ ใน TCSNet และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเชื่อมเครือข่ายไทยสารเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่างประเทศ" หลังจากนั้นเนคเทค ก็ได้พัฒนาเครือข่ายอีกเครือข่ายขึ้นมา โดยใช้ X.25 รวมกับ MHSNet และใช้โปรโตคอล TCP/IP เกิดเป็นเครือข่ายไทยสาร "Thai Social/Scientific Academic and Research Network - ThaiSarn" ในปี พ.ศ. 2535 ปลายปี 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่าชื้อสายครึ่งวงจร 9.6 Kbps จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมกับ UUNET สหรัฐอเมริกา ทำให้จุฬาฯ เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่สำหรับเครือข่ายภายใต้ชื่อ ThaiNet อันประกอบด้วย AIT, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และให้สามาชิกไทยสารใช้สายเชื่อมนี้ได้โดยผ่านทางเนคเทคอีกด้วย ภายใต้ระเบียบการใช้อินเทอร์เน็ต (Appropriate Use Policy - AUP) ของ The National Science Foundation (NSF) และปี 2537 เนคเทค ได้เช่าชื้อสายเชื่อมสายที่สอง ที่มีขนาด 64 Kbps ต่อไปยังบริษัท UUNet ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น จาก 200 คนในปี 2535 เป็น 5,000 คนในเดือนพฤษภาคม 2537 และ 23,000 คนในเดือนมิถุนายน ของปี 2537 AIT ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมภายในประเทศระหว่าง ThaiNet กับ ThaiSarn ผ่านสายเช่า 64 Kbps ของเครือข่ายไทยสาร ปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลไทย เปิดบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตแห่งประเทศไทย จำกัด อันเป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยใช้สายเช่าครึ่งวงจรขนาด 512 Kbps ไปยัง UUNet โดยถือว่าเป็นบริษัทผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตรายแรกของประเทศไทย และได้เพิ่มจำนวนจนเป็น 18 บริษัทในปัจจุบัน